เที่ยวภูเขาทอง

เที่ยวภูเขาทอง

เที่ยวภูเขาทอง เข้าวัดไหว้พระทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกันเสียหน่อย หากใครมาที่วัดแห่งนี้จะต้องไม่พลาดเดินขึ้นบันไดเพื่อไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และชมทิวทัศน์อันงดงามของเมืองกรุงบน “ภูเขาทอง”สวยงามไม่แพ้ที่อื่น โดดเด่นด้วยสีทองอร่ามบนเนินเขาสูง ใครที่ขับรถผ่านตามถนนราชดำเนิน ไม่มีทางเลยที่จะไม่เหลียวมองที่นี่ “ภูเขาทอง” ในวัดสระเกศ ที่เที่ยวใกล้วัดภูเขาทอง สวยงามทุกยามเวลา ทั้งเช้า กลางวัน เย็น และตอนกลางคืน ยิ่งมีงานเทศกาลมากเท่าไหร่ ยิ่งสนุกและตื่นเต้นมาก งานวัดของย่านนี้ถือว่าเป็นที่น่าจดจำและน่าหลงไหลทั้งสำหรับคนไทยและคนต่างชาติ คึกคัดอย่างยิ่งอีกครั้งในเทศกาลลอยกระทง ที่หลาย ๆ คนนึกถึงภูเขาทองกันเป็นที่แรก ๆ

 

ภูเขาทอง เที่ยวภูเขาทอง 

 

เที่ยวภูเขาทอง ภูเขาทอง เป็นสถานที่สำคัญที่อยู้่ใน วัดสระเกศ ซึ่งเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง และสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานนามว่า “สุวรรณบรรพต” มีความสูง 77 เมตร บนยอดของภูเขาทองนั้นเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ที่ต่อมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชตามคำจารึกภายในวัดจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เราได้ไปสักการะกันตั้งแต่ วัดภูเขาทองขอพรเรื่องอะไร เข้ามาในวัดเลย เราก็จะเจอกับ พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิองค์ใหญ่ ผนังรอบๆ พระอุโบสถจะมีภาพจิตรกรรมที่เกี่ยวกับเทวดา ท้าวจตุโลกบาล ภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย ภาพทศชาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ ภาพไตรภูมิ เป็นความสวยงามที่มองแล้วรู้สึกอิ่มเอง สบายใจมากเลยค่ะต่อมาเป็น พระวิหารพระอัฏฐารส สถานที่ประดิษฐาน หลวงพ่อดุสิต และ พระอัฎฐารส โดยเป็นพระพุทธรูปยืน ศิลปะในการสร้างนั้นเป็นแบบสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุมากกว่า 700 ปี และเป็นพระพุทธรูปยืนที่มีสูงที่สุดในกรุงเทพ สูงถึง 10.75 เมตรเลยทีเดียวค่ะ ในหลวงรัชกาลที่ 3 นั้น โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจาก วัดวิหารทอง ที่จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่นี่แทนนั่นเองค่ะและแล้วก็มาถึง พระบรมบรรพต หรือภูเขาทอง ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของ วัดสระเกศ นี้ จนทำให้ที่นี่เป็นที่รู้จัก โดยภูเขาทองนี้ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นไว้เป็นปูชนียสถานในพระนคร เหมือนกับตอนที่กรุงเก่ามี วัดภูเขาทองค่ะ บันไดขึ้นภูเขาทองนี้ จะมีจำนวนทั้งหมด 344 ขั้นค่ะเมื่อขึ้นมาถึงด้านบนก็ต้องมากราบไหว้ พระพระพุทธรูปประธานประดิษฐานตรงทางเข้าองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนามว่าพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถปางทรงเครื่องจักรพรรดิ์และสามารถขึ้นไปเวียนเทียนรอบภูเขาทอง แล้วก็เดินถ่ายรูปชมวิวของเมืองกรุงเทพฯ ได้เลยค่ะยิ่งในช่วงเทศกาลอย่างวันลอยกระทงที่นี่จะจัดงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ7วัน 7 คืนด้วยกัน จัดว่าเป็นงานวัดที่ดังมากๆ ของกรุงเทพฯ เลย ที่สำคัญทางวัดจะเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนอีกด้วยค่ะ ซึ่งความพิเศษแบบนี้จะมีแค่ในช่วงเทศกาลเท่านั้น เรียกได้ว่าความสวยที่ได้เราเห็นกันนั้น เป็นวัดสวยในลิสต์ที่ต้องห้ามพลาดเลยจริงๆ

 

โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ เสาชิงช้า KopeHyaTaiKee 

 

สิบโมงครึ่ง มาทานอาหารก็ยังต้องจัดโต๊ะ ถึงแม้จะตกแต่งร้านแล้ว แต่ป้ายสองภาษาจีนไทย โต๊ะกลมหินก้อนเมฆ เก้าอี้กลมไม้ และเคาน์เตอร์ กระเบื้องพื้นวินเทจ และพัดลมเพดานยังคงมีกลิ่นอายของความคิดถึง สั่งไข่เจียว ข้าวแกงเหลือง กุ้งสดกวางตุ้ง และกาแฟแช่แข็ง”

 

ชุมชนวัดสระเกศ

 

จากนั้น เดินทางต่อไปยัง ชุมชนวัดสระเกศ ผ่านเขตสังฆาวาส เดินทะลุไปด้านหลังวัด มองเห็นคลองที่เคยเป็นเส้นทางการขนส่งไม้ในอดีต ที่มาจากคลองผดุงกรุงเกษมกิจการค้า แปรรูปไม้ โรงเลื่อย โรงผลิต งานช่างไม้ กระจายอยู่รอบ ๆ ย่านภูเขาทอง คนส่วนมากที่มาวัดสระเกศ มักคิดว่ามีแต่ภูเขาทอง แต่จริง ๆ แล้วมีชุมชนที่น่าสนใจอีกมากวัดสระเกศ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมตั้งใจสร้างเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่เหมือนวัดอรุณ แต่ดินในพื้นที่พระนครเป็นดินเลน ดินทะเลตม เป็นที่ลุ่มชุ่มชื้น ทำให้ฐานรากพระปรางค์ทรุดลงมา

 

ชุมชนบ้านบาตร

 

พวกเราคือนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกของเส้นทางนี้ ออกเดินทางจากจุดนัดหมาย Old Town Gallery เวลา 9:00 น. จากถนนจักรพรรดิพงษ์ไปยัง ชุมชนบ้านบาตร แหล่งรวมช่างฝีมือพุทธศิลป์สง่า เสือศรีเสริม ไกด์ท้องถิ่นในชุมชนบ้านบาตร นำพวกเราชมการทำบาตรพระทั้ง 8 ขั้นตอนอย่างละเอียด เริ่มจากการตีขอบบาตรก่อนการทำบาตรพระตามหลักศาสนาจะมี 8 ชิ้น นำมาขึ้นรูปเชื่อมติดกัน ต่อบาตรให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วตะไบออกให้เรียบเนียนจนเป็นเนื้อเดียวกันถ้าพระบางรูปขอเพิ่มน้ำหนัก เราก็จะสั่งทำเหล็กหนาขึ้น เช่น ปกติเราใช้เบอร์ 20 ก็ลดเบอร์ลงเป็น 19 หรือ 18สำหรับช่างมืออาชีพ 1วัน ได้ 3 ใบ ซึ่งก่อนใช้ พระจะนำไป ‘บ่ม’ ด้วยความร้อนก่อน คือการก่อไฟรอบนอก บาตรอยู่ตรงกลาง ไอร้อนจะเข้าไปเคลือบ ทำให้ไม่เป็นสนิม กลายเป็นสีปีกแมงทับ อมดำอมเขียวอมเทา

 

บทความที่แนะนำ